<< Go Back

โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ นักเขียนโปรแกรม มีหน้าที่กำหนดขั้นตอนการทำงานในโปรแกรม โดยใช้รหัสคอมพิวเตอร์ (Code) ที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ สำหรับกำหนดชุดคำสั่งเป็นขั้นตอนอย่างมีวัตถุประสงค์ ขั้นตอนพื้นฐานในการเขียนรหัสคอมพิวเตอร์มี 3 ลักษณะคือ ทำงานตามลำดับ ทำงานตามเงื่อนไข และทำงานซ้ำ
โปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก คือ เอดา ไบรอน เลิฟเลซ (Lady Augusta Ada Byron, Countess of Lovelace) เกิด 10 ธันวาคม พ.ศ. 2358 เธอถูกยกย่องว่าเป็นคนแรกที่นำเสนอขั้นตอนวิธีเป็นชุดคำสั่งสำหรับใช้ในเครื่องวิเคราะห์ (Analytical engine) ของชาลส์ แบบบิจ (Charles Babbage) ซึ่งเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ (Father of the computer)
การปรากฎของคำว่า Programmer พบว่า Edsger Wybe Dijkstra ใช้คำว่า โปรแกรมเมอร์ (Programmer) กับโลกของคอมพิวเตอร์เป็นคนแรก เมื่อมีนาคม ค.ศ.1952 (พ.ศ.2495) และนำเสนอทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไว้มากมาย อาทิ Mutual Exclusion, Dining philosophers problem, Deadlock, Concurency

อาชีพโปรแกรมเมอร์

ลักษณะการทำงานของนักโปรแกรมเมอร์
โปรแกรมเมอร์ จะทำหน้าที่ นำข้อมูลการออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ จากนักวิเคราะห์ระบบงาน มาเขียนเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจะแตกต่างกันไปตามลักษณะเครื่องของระบบฐานข้อมูล ทดสอบระบบและส่งให้นักวิเคราะห์ระบบทำการตรวจสอบอีกครั้งเพื่อหากจุดบกพร่องและแก้ไขก่อนนำไปใช้จริง โปรแกรมเมอร์ยังต้องทำหน้าที่ รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้ระบบ (User) จากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จัดทำแผนภูมิ (Flowchart) ขั้นตอนการทำงานที่ละเอียด และถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์แผนภูมิหรือแผนผังสายงาน แต่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด
คุณสมบัติที่จำเป็นในการเป็นโปรแกรมเมอร์
• มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเข้ารับศึกษาได้ในสถานบันการศึกษาที่เรียนทำการสอน หรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์
• มีทักษะในการการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์
• มีความคิดสร้างสรรค์สามารถประยุกต์และดัดแปลงความรู้ความสามารถทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี

โปรแกรมเมอร์เป็นคนใจอ่อน

โปรแกรมเมอร์เป็นคนชอบแก้ปัญหา เขามองว่ามันท้าทายที่จะหาความเป็นไปได้ แต่การรับปากของเขาอาจจะทำให้ลูกค้าสับสนว่าจะทำให้เลยหรือเปล่า ไม่จำเป็นต้องยืดระยะเวลาการทำใช่ไหม ดังนั้นหากมีสถานการณ์ที่โปรแกรมเมอร์ต้องไปเจอกับลูกค้าก็ขอให้คุณคุยกับเขาให้ดีก่อนว่าอย่าเพิ่งรับปากว่าจะทำอะไรทันที ให้รับฟังและกลับไปวางแผนกันอีกที

 

 

http://www.thaiall.com/programmer/index.html
https://www.gotoknow.org/posts/576082
https://creativetalklive.com/things-should-know-to-talk-with-programmer/

 

 

<< Go Back